ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

BR3-02 : จะทำอย่างไรกับพวกบ้าถ่ายรูปแบบไม่เกรงใจดี

มีคำถามเข้ามาแบบถี่ ๆ มากขึ้นว่า จะทำอย่างไรกับพฤติกรรมของลูกค้าที่คลั่งไคล้การถ่ายรูปดี ?

น่าแปลกใจพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ก็เห็นด้วยว่า บางครั้งพฤติกรรมของลูกค้าก็ก้าวข้ามความเหมาะสม รู้จัก “ควร” หรือ “ไม่ควร” ไปในหลาย ๆ กรณี เพียงเพราะคิดว่า “ฉันต้องการภาพไปโพสลงในโซเชี่ยลมีเดียของฉัน” ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทำเป็นวิดีโอภาพเคลื่อนไหวเผยแพร่ในช่องยูทูปของตนเอง หรืออยากนำไปลงตามกลุ่มต่างๆที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ เช่น ชมรมกล้องถ่ายภาพยี่ห้องต่างๆ หรือกลุ่มท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่ม
ประสบการ์ณที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายรูปมีหลายแบบ หลายประเภท เช่น
  • ถือกล้องเดินเข้ามาในร้าน และตะลุยยิงภาพถ่ายทุกมุม ทุกบริเวณ เดินทั่วทุกบริเวณไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำ และเดินกลับออกไปเฉย ๆ
  • สถานที่ติดป้ายว่า “ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ใช้บริการร้านอาหารเท่านั้น” แต่ไม่สนใจกับป้าย และไม่สนใจคำพูดที่พนักงานชี้แจง เดินถ่ายรูปต่อไป และเดินออกไปเมื่อถ่ายรูปเสร็จ
  • สถานที่ติดป้ายว่า “พื้นที่กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุง ห้ามเดินผ่าน อันตราย” ก็จะเดินเข้าไป มุดใต้เชือกที่ขึงกั้นทางเอาไว้
  • ขนอุปกรณ์มาแบบจัดเต็มทั้งกล้องพร้อมเลนส์ราคาแพงครบชุด หลายอันให้เลือกพร้อมขาตั้งกล้อง บ้างก็มีโดรนมา มีกล้องวิดีโอขนาดเล็ก แล้วก็เดินดุ่ย ๆ เข้ามาพร้อมเตรียมเปิดฉากการถ่ายภาพแบบไม่มีการขออนุญาตแต่อย่างใด ราวกับว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ
  • เข้ามานั่งในร้านอาหารแล้วก็ไลฟ์สดพูดเสียงดัง รบกวนโต๊ะข้างเคียง
  • ใช้โทรศัพท์แบบเปิดลำโพง ไม่ว่าจะเป็นเฟซไทม์ หรือไลน์วิดีโอคอล เสียงดังรบกวนคนอื่น มองก็แล้ว เดินไปบอกก็แล้ว ยังไม่มีท่าทีว่าจะสงบลง
นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าอีกหลาย ๆ ท่านก็คงประสบกับปัญหาในแบบเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันไม่มากก็น้อย และที่สำคัญคือเต็มไปด้วยความประหลาดใจว่า เมื่อเราเดินไปบอกลูกค้าด้วยความสุภาพแล้ว กลับนิ่งเฉย ไม่ให้ความร่วมมือ และยังไม่รู้สึกว่าตนเองรบกวนความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นอีกต่างหาก ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ให้ตายเถอะโรบิน

แล้วเราจะจัดการกับพวกนี้อย่างไรดี?

คำแนะนำแบบแก้ไขปัญหาระยะสั้นคือ การติดตั้งป้าย “ห้าม” ต่างๆที่ต้องการ แต่อย่างไรก็ดีมาตรการนี้ไม่ใช่มาตรการที่แก้ไขปัญหาแบบถาวร เพราะจะมีพฤติกรรมอะไรแปลก ๆ ใหม่ๆ ออกมาให้เราเห็นตลอดเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปบนรสนิยมการใช้ชีวิตที่ต้องการก้าวทันต่อเทรนด์ตลอดเวลา ถ้าเราจะมานั่งทำป้ายต่างๆ อีกหน่อยร้านเรา หรือโรงแรมเราคงเต็มไปด้วยป้ายนานาชนิดเต็มไปหมดทั่วพื้นที่
สิ่งที่ควรทำคือ การกลับมาดูที่ตัวเราว่าโรงแรมหรือร้านอาหารของเรานั้นวางคอนเซ็ปต์และบุคลิกลักษณะเป็นอย่างไร แนวไหน แล้วก็ถ่ายทอดความเป็นตัวเราออกมาในรูปการแสดงออกในด้านต่างๆ พยายามรักษาคอนเซ็ปต์ไปจนถึงบรรยากาศของร้านหรือโรงแรมให้คงอยู่ตามที่วางแนวทางไว้ให้ได้มากที่สุด
การเล่าเรื่องอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องโดยใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆในการแสดงให้ลูกค้ารับรู้ และรู้จักเราในแบบที่เราต้องการ พร้อมแสดงภาพประกอบ หรือวิดีโอภาพเคลื่อนไหวเป็นส่วนประกอบในการทำให้เห็นพื้นที่จริง บรรยากาศจริง ซึ่งการแสดงออกแบบนี้ต้องอาศัยเวลาในการรับรู้ และเรียนรู้ของลูกค้ากว่าเราจะได้กลุ่มลูกค้าตามที่เราต้องการ
ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คล้าย ๆ กับที่บรรดาที่พักแบบ “โฮสเทล” จะชอบมีประกาศ “กฎของบ้าน” หรือ House Rules นั่นเอง แต่เนื่องจากที่พักแบบโฮสเทลเน้นกลุ่มลูกค้าแบบประหยัดจึงต้องเขียนข้อความที่สั้น กระชับ ชัดเจนและรวดเร็วในการทำความเข้าใจ ประกอบกับตัวพื้นที่เองต้องมีการแบ่งปันกันในทุกๆพื้นที่ ตั้งแต่ส่วนต้อนรับ นั่งเล่น พื้นที่ส่วนกลาง ห้องนอน ห้องน้ำ ดังนั้น ป้ายกฎของบ้าน จึงเป็นหลักสำคัญของหลายๆโฮสเทล
โรงแรมที่พักขนาดเล็ก แบบ Bed & Breakfast หรือบูติกโฮเต็ลก็มีการใช้ป้ายในลักษณะนี้เช่นกัน แต่อารมณ์จะเบาลงมาหน่อย คล้ายๆ กับการให้ข้อมูลลูกค้า เช่น ที่นี่ เราเสริฟอาหารเช้าตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมง รับประทานอาหารเสร็จแล้วให้นำภาชนะไปวางที่อ่างล้างจานให้เราด้วยนะ อย่าลืมปิดไฟหน้าระเบียงก่อนเข้านอน อะไรทำนองนี้ เป็นต้น
พฤติกรรมของลูกค้ามีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มอายุ และทุกกลุ่มอายุก็มีทั้งคนดี และคนไม่ดี คนมีมารยาท และคนไม่มีมารยาท คนที่คิดเอาแต่ตนเองเป็นใหญ่ กับคนที่รู้จักเกรงใจผู้อื่น เราคงไม่สามารถไปแก้ไขพฤติกรรมของคนเหล่านั้นได้ เพราะเป็นเรื่องการอบรมสั่งสอนของแต่ละคน แต่ละวัยที่ผ่านมา ทั้งครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงอย่าได้ไปเสียเวลาในการเปลี่ยนผู้อื่น แต่ควรกลับมาสร้างจุดยืนของเราให้เข้มแข็ง และกล้าที่จะแสดงออกในจุดยืนของเรา ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ลูกค้าหนี
ถ้าจุดยืนเราเข้มแข็ง เมื่อเวลาผ่านไปเราก็จะได้กลุ่มลูกค้าที่เราสามารถบริหารจัดการได้ และจะทำให้การทำงานของคุณกลับมามีความสุขอีกครั้ง ที่สำคัญทีมงานของคุณก็จะมีความสุขเพราะคุณในฐานะเจ้าของกิจการแสดงจุดยืนในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
อ้อ…อย่าลืมว่า เราอย่าทำนิสัยไม่ดีเสียเองก็แล้วกัน บางโรงแรมลูกค้านั่งรับประทานอาหารอยู่ พนักงานโรงแรมก็ลากเก้าอี้ขึ้นมายืนถ่ายรูปอาหารบนโต๊ะข้างๆลูกค้าเพื่อจะโพสลงโซเชี่ยล โดยไม่บอกกล่าวซะงั้น อันนี้ไม่น่าให้อภัยจริงๆ

สรุปเรื่องนี้คงไม่เกี่ยวกับโซเชี่ยลมีเดียหรอกว่าจะเป็น “เพื่อน” หรือเป็น “ศัตรู” แต่อยู่ที่พฤติกรรมของคนมากกว่า


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบรนด์กับการแสดงออก

แบรนด์สินค้าและบริการ ไม่ต่างอะไรจาก คนหนึ่งคน ถ้าแบรนด์ของสินค้าและบริการนั้นๆสามารถทำให้เรารู้สึกและรับรู้กับตัวสินค้าและบริการนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกภูมิใจที่ได้ใส่เสื้อผ้ายี่ห้อนี้  ความรู้สึกเท่เมื่อใส่นาฬิกายี่ห้อนี้  หรือความรู้สึกอิ่มเอมใจเมื่อเห็นสินค้าที่เราใช้ทำกิจกรรมจิตอาสาส่งต่อความดีต่างๆ แล้วสินค้าและบริการจะแสดงออกอย่างไร ? คงต้องกลับมาตั้งต้นไปตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือการก่อตั้งสร้างแบรนด์ ว่าเรามีวัตถุประสงค์อย่างไร กำหนดรูปแบบหน้าตา และองค์ประกอบต่างๆในความเป็นแบรนด์นั้นอย่างไร ไม่ใช่แต่เฉพาะในส่วนของตราสัญญลักษณ์หรือโลโก้ และสีสันของตัวอักษรที่ใช้แต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่เราวางลักษณะหรือบุคคลิกลักษณะ (Personality / Character) ของแบรนด์เป็นอย่างไร ซึ่งก็หมายรวมไปถึงว่า เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไรต่อภาพลักษณ์ของเรา หรือเมื่อลูกค้าใช้สินค้าและบริการของเรา เช่น อยากให้รู้สึกดี รู้สึกสบาย รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกภูมิใจ เป็นต้น การที่เราจะให้ลูกค้ามีความรู้สึกต่างๆที่เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกนั้น เราก็ต้องกลับมาที่ตัวสินค้าและบริการของเราว่าควรจะมีคุณลักษณะอย่า

BR2-01 : โรงแรมเปลี่ยนแบรนด์บ่อย ๆ จะดีเหรอ

เวลาเราเห็นโรงแรมที่พักตามสถานที่ต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแบรนด์ กันบ่อย ๆ เราก็มักจะสงสัยว่า ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ครั้งที่แล้วเรามาพักยังชื่อโรงแรมนี้อยู่เลย ทำไมมาคราวนี้เปลี่ยนไปอีกแล้ว หรืออีก  2  ปีถัดไปกลายเป็นอีกชื่อไปแล้ว เรามาดูกันว่าเรื่องนี้มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโรงแรม นั้นมีได้หลากหลายแบบในด้านธุรกิจ ได้แก่ 1. การทำสัญญาว่าจ้างบริหารงานแบบเต็มรูปแบบภายใต้เชน หรือที่เราเห็นตามจังหวัดต่างๆที่มีชื่อโรงแรมตั้งต้นด้วยชื่อเชน หรือชื่อแบรนด์โรงแรมในกลุ่มเชนนั้น ๆ และตามด้วยชื่อโรงแรมเดิม หรือสถานที่ตั้ง หากกลุ่มโรงแรมนั้นมีแบรนด์โรงแรมหลายแบรนด์ การพิจารณาเข้าร่วมบริหารจัดการก็จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของข้อกำหนดของแต่ละแบรนด์ว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติของโรงแรมที่จะอยู่ภายใต้แบรนด์นั้นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น จำนวนห้องพัก ขนาดห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เพื่อที่จะได้วางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับสภาพธุรกิจและแนวโน้มในการทำธุรกิจในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวม การทำสัญญากันในลักษณะนี้อาจเป็นการร่วมลงทุนร

BR3-01 : สร้างแบรนด์ โรงแรมเล็ก

#สร้างแบรนด์ให้โรงแรม ความจำเป็นและความสำคัญของก ารสร้างแบรนด์สำหรับโรงแรมนั้น  จริงๆอยู่ที่ความต้องการและ เป้าหมายทางธุรกิจที่เป็นโจ ทย์ตั้งต้นของเจ้าของโครงกา ร ขั้นตอนการทำงานของเราคือกา รพูดคุย สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด ็นต่างๆ กับเจ้าของโครงการเพื่อให้เ ข้าใจจุดประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน บางกรณีก็ได้ข้อสรุปว่าไม่ต้อ งทำ แค่สร้างและเปิดให้บริการให้ ได้ตามกำหนด บางกรณีต้องการปรับตำแหน่งท างการตลาด ขายในราคาที่ดีขึ้นเนื่องจา กต้นทุนสูงมาก กรณีนี้ก็ควรสร้างแบรนด์ หรือบางกรณีลูกค้าต้องการสร้า งธุรกิจโรงแรมเพื่อสร้างแ บรนด์เป็นของตนเอง ต้องการต่อยอดไปถึงการทำหลา ยโครงการ หลายแบรนด์เพื่อจับกลุ่มตลา ดที่ต่างกัน เพื่อปูทางไปในสายธุรกิจรับ บริหารจัดการโรงแรมในอนาคต กรณีนี้ต้องสร้างและออกแบบแ บรนด์ไปจนถึงบริหารแบรนด์อย่ างจริงจัง ซึ่งก็จะมีการเขียนคู่มือแล ะแนวทางในการปฏิบัติให้ ตั้งแต่ Brand Statement, Brand Promise, Brand Concept, Brand Management เป็นต้น เมื่อพัฒนาแบรนด์แล้วก็ควรทำ การตลาดเพื่อให้แบรนด์เป็น ที่รู้จักให้ตรงตามตลาดที่เ ป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางช่อ งทาง