ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

BR3-02 : จะทำอย่างไรกับพวกบ้าถ่ายรูปแบบไม่เกรงใจดี

มีคำถามเข้ามาแบบถี่ ๆ มากขึ้นว่า จะ ทำอย่างไรกับพฤติกรรมของลูกค้าที่คลั่งไคล้การถ่ายรูปดี   ? น่าแปลกใจพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ก็เห็นด้วยว่า บางครั้งพฤติกรรมของลูกค้าก็ก้าวข้ามความเหมาะสม รู้จัก “ควร” หรือ “ไม่ควร” ไปในหลาย ๆ กรณี เพียงเพราะคิดว่า “ฉันต้องการภาพไปโพสลงในโซเชี่ยลมีเดียของฉัน” ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทำเป็นวิดีโอภาพเคลื่อนไหวเผยแพร่ในช่องยูทูปของตนเอง หรืออยากนำไปลงตามกลุ่มต่างๆที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ เช่น ชมรมกล้องถ่ายภาพยี่ห้องต่างๆ หรือกลุ่มท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่ม ประสบการ์ณที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายรูปมีหลายแบบ หลายประเภท เช่น ถือกล้องเดินเข้ามาในร้าน และตะลุยยิงภาพถ่ายทุกมุม ทุกบริเวณ เดินทั่วทุกบริเวณไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำ และเดินกลับออกไปเฉย ๆ สถานที่ติดป้ายว่า “ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ใช้บริการร้านอาหารเท่านั้น” แต่ไม่สนใจกับป้าย และไม่สนใจคำพูดที่พนักงานชี้แจง เดินถ่ายรูปต่อไป และเดินออกไปเมื่อถ่ายรูปเสร็จ สถานที่ติดป้ายว่า “พื้นที่กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุง ห้ามเดินผ่าน อันตราย” ก็จะเดินเข้าไป มุดใต้เชือกที่ขึงกั้นทางเอาไว้ ขนอุปกรณ์

BR3-01 : สร้างแบรนด์ โรงแรมเล็ก

#สร้างแบรนด์ให้โรงแรม ความจำเป็นและความสำคัญของก ารสร้างแบรนด์สำหรับโรงแรมนั้น  จริงๆอยู่ที่ความต้องการและ เป้าหมายทางธุรกิจที่เป็นโจ ทย์ตั้งต้นของเจ้าของโครงกา ร ขั้นตอนการทำงานของเราคือกา รพูดคุย สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด ็นต่างๆ กับเจ้าของโครงการเพื่อให้เ ข้าใจจุดประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน บางกรณีก็ได้ข้อสรุปว่าไม่ต้อ งทำ แค่สร้างและเปิดให้บริการให้ ได้ตามกำหนด บางกรณีต้องการปรับตำแหน่งท างการตลาด ขายในราคาที่ดีขึ้นเนื่องจา กต้นทุนสูงมาก กรณีนี้ก็ควรสร้างแบรนด์ หรือบางกรณีลูกค้าต้องการสร้า งธุรกิจโรงแรมเพื่อสร้างแ บรนด์เป็นของตนเอง ต้องการต่อยอดไปถึงการทำหลา ยโครงการ หลายแบรนด์เพื่อจับกลุ่มตลา ดที่ต่างกัน เพื่อปูทางไปในสายธุรกิจรับ บริหารจัดการโรงแรมในอนาคต กรณีนี้ต้องสร้างและออกแบบแ บรนด์ไปจนถึงบริหารแบรนด์อย่ างจริงจัง ซึ่งก็จะมีการเขียนคู่มือแล ะแนวทางในการปฏิบัติให้ ตั้งแต่ Brand Statement, Brand Promise, Brand Concept, Brand Management เป็นต้น เมื่อพัฒนาแบรนด์แล้วก็ควรทำ การตลาดเพื่อให้แบรนด์เป็น ที่รู้จักให้ตรงตามตลาดที่เ ป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางช่อ งทาง

BR2-01 : โรงแรมเปลี่ยนแบรนด์บ่อย ๆ จะดีเหรอ

เวลาเราเห็นโรงแรมที่พักตามสถานที่ต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแบรนด์ กันบ่อย ๆ เราก็มักจะสงสัยว่า ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ครั้งที่แล้วเรามาพักยังชื่อโรงแรมนี้อยู่เลย ทำไมมาคราวนี้เปลี่ยนไปอีกแล้ว หรืออีก  2  ปีถัดไปกลายเป็นอีกชื่อไปแล้ว เรามาดูกันว่าเรื่องนี้มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโรงแรม นั้นมีได้หลากหลายแบบในด้านธุรกิจ ได้แก่ 1. การทำสัญญาว่าจ้างบริหารงานแบบเต็มรูปแบบภายใต้เชน หรือที่เราเห็นตามจังหวัดต่างๆที่มีชื่อโรงแรมตั้งต้นด้วยชื่อเชน หรือชื่อแบรนด์โรงแรมในกลุ่มเชนนั้น ๆ และตามด้วยชื่อโรงแรมเดิม หรือสถานที่ตั้ง หากกลุ่มโรงแรมนั้นมีแบรนด์โรงแรมหลายแบรนด์ การพิจารณาเข้าร่วมบริหารจัดการก็จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของข้อกำหนดของแต่ละแบรนด์ว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติของโรงแรมที่จะอยู่ภายใต้แบรนด์นั้นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น จำนวนห้องพัก ขนาดห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เพื่อที่จะได้วางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับสภาพธุรกิจและแนวโน้มในการทำธุรกิจในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวม การทำสัญญากันในลักษณะนี้อาจเป็นการร่วมลงทุนร