ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

BR1-03 : ข้อควรระวังในการโพสข้อความ



ถ้าการสร้าง "แบรนด์" คือการทำให้ลูกค้าชอบเรา การกระทำต่างๆของเราไม่ว่าจะเป็นช่องทางการสื่อสารทางช่องทางใด ก็ควรเพิ่มความระมัดระวังให้มาก ๆ ซึ่งในบางประเด็นก็เป็นการอธิบายให้เข้าใจได้ยากเพราะเป็นเรื่องที่ว่าด้วยคำว่า "ควร" และ "ไม่ควร"

เหมือนกับหลายๆครั้งที่เขียนบทความและพยายามเน้นในเรื่อง "มารยาท" ในเรื่องต่าง ๆ ก็เพื่อให้ทุกท่านระมัดระวังในการกระทำ การคิดให้รอบคอบก่อนลงมือทำ เพราะไม่ใช่การกระทำในฐานส่วนบุคคล แต่คุณกำลังทำหน้าที่ทีมงานคนหนึ่งของธุรกิจ ซึ่งก็เปรียบเสมือนคุณเป็นตัวแทนของแบรนด์สินค้า หรือ แบรนด์บริการของคุณนั่นเอง

มี 3 ข้อสั้นๆ ที่อยากนำมาย้ำเตือนกันอีกครั้งว่า ธุรกิจโรงแรมที่พัก เป็นธุรกิจการให้บริการ ซึ่งว่าด้วยคน 100% ไม่ว่าจะในด้านใดๆ ล้วนต้องใช้คนทำหน้าที่สื่อสาร มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าทั้งสิ้น ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากมาย แต่ท้ายที่สุดความประทับที่จะเกิดขึ้นจากการใช้บริการจะกลับมาที่ตัวพนักงาน หรือทีมงานทั้งหมด

ข้อที่ 1 - กาลเทศะ 
การที่เราจะรู้ว่า "ควร" หรือ "ไม่ควร" หรือ "เหมาะสม" หรือ "ไม่เหมาะสม" ล้วนเกิดจากการอบรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน และสถานที่ทำงาน  ดังนั้นถ้าเราต้องการสร้างมาตรฐานของแบรนด์เราที่ดี ไม่ควรจะไปโทษพนักงานผู้ปฏิบัติงาน แต่ควรหันมาพิจารณาตัวเองว่า เราได้วางกฎกติกามารยาทไปจนถึงวิธีปฎิบัติงานที่ชัดเจน รัดกุม รอบคอบแล้วหรือยัง และกฎกติกานั้นได้นำมาสรุป นำมาอธิบายเพื่อให้ทีมงานเข้าใจมากน้อยแค่ไหน  และประการที่สำคัญ ตัวคุณเองในฐานะเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารโรงแรม คุณได้ทำตนเองเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับทีมงานมากน้อยแค่ไหน

กาลเทศะ คือ การรู้จักและเข้าใจจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ที่ควรในการแสดงออกซึ่งการกระทำ หรือคำพูดในโอกาสต่างๆ เช่น ตอนเด็กๆ เราอาจจะเคยโดนผู้ใหญ่ที่กำลังนั่งสนทนากันดุ ในขณะที่เราวิ่งเสียงดัง หรือตะโกนแทรกไปในระหว่างวงสนทนาของผู้ใหญ่ ว่า เรานี่ไม่รู้จักกาลเทศะเลยจริง ๆ

กาลเทศะในการโพสข้อความนั้น เนื่องจากความรวดเร็วในเรื่องของเทคโนโลยี หากความคิดที่ไม่รอบคอบ เร็วกว่าความรู้สึกนึกคิดในเรื่องมารยาทในการสื่อสาร เราก็มักจะเห็นข้อความที่ไม่เหมาะไม่สมออกมาบนหน้าเพจของหลาย ๆ ธุรกิจในหลายวาระ หลายโอกาส  ตัวอย่างเช่น เรากำลังอยู่ในภาวะโศกเศร้าจากเหตุการ์ณที่กระทบกระเทือนจิตใจที่เป็นระดับประเทศ ระดับชาติ กลับมีการโพสข้อความที่ดูถูกเหยียดหยาม หรือแสดงความไม่เห็นด้วยกับความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่กำลังมีความรู้สึกร่วม หรือไปเล่นกับการโพสวิดีโอที่กำลังแพร่หลายที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับจังหวะและช่วงเวลา หรือแม้กระทั่งการนำข้อความ ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวของผู้อื่นมาใช้โดยไม่มีการให้เครดิต  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงออกถึงความมี หรือไม่มีมารยาทของแบรนด์คุณทั้งสิ้น

ข้อที่ 2 ตรวจคำผิดและตัวสะกด

ก่อนขึ้นข้อความทุกครั้งควรตรวจคำผิดและตัวสะกดคำให้ถูกต้องเสมอ สะท้อนความเป็นมืออาชีพในการทำงาน และการให้เกียรติผู้อ่านอย่างชัดเจน

อย่ามองข้ามว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเคยได้ยินบางคนบอกว่า "แหม...ใช้นิดใช้หน่อย ใช้ภาษาพูดมาเป็นคำเขียนบ้างนิดหน่อย เค้าจะได้รู้ว่าเรายังทันสมัยอยู่" อันนี้ก็คงแล้วแต่ทางเลือกของผู้บริหารว่าคุณมองภาพลักษณ์ของแบรนด์คุณเป็นอย่างไร และคุณมองลูกค้าคุณในแบบไหน

สินค้าและบริการใช้คำศัพท์ทันสมัยวัยรุ่นตรงตามกลุ่มตลาดเป้าหมายของตัวสินค้า ก็เป็นการเลือกในการสื่อสารให้เข้ากับตัวสินค้า แต่ถ้าสินค้าเป็นระดับพรีเมี่ยม เน้นกลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่ กลุ่มมีกำลังซื้อในวัยทำงาน แต่เลือกที่จะสื่อสารแบบสะกดคำผิด ๆ ถูก ๆ ตลอดเวลา อันนี้ก็คงต้องเรียกว่า ไม่มีมีความเป็นมืออาชีพเลย  และอย่าไปโทษผู้ปฎิบัติงานว่า พนักงานคนที่โพสข้อความยังเด็กอยู่ก็เลยขึ้นข้อความแบบนี้ ประเด็นนี้ต้องกลับไปดูว่ามีการกำหนดมาตรฐานในการปฎิบัติงานอย่างไร

ในโลกการสื่อสารออนไลน์ที่มีบทบาทในการทำการตลาดในยุคปัจจุบัน ทีมผู้บริหารโรงแรมควรมีการออก Social Media Policy นโยบายในการใช้สื่อโซเชี่ยล ออกมาให้ชัดเจน และทำความเข้าใจกับพนักงานว่ามีข้อห้ามอย่างไรบ้าง รวมทั้งมีบทลงโทษเพื่อใช้กำกับดูแล แยกประเด็นให้ออกระหว่างการใช้สื่อส่วนตัว กับการใช้สื่อในการทำงาน

ข้อที่ 3 อย่ามุ่งแต่จะขาย

ข้อนี้มีตัวอย่างมากมายให้เราเห็น บางสินค้าโพสแต่ข้อความขายของทุกวัน ไม่เช่นนั้น เราคงไม่เห็นการแจ้งเตือน "งดฝากร้าน" หรือลูกค้าบางคนถึงขั้นต้องระงับการติดต่อกับธุรกิจนั้นไปเลย เพราะรำคาญกับข้อความที่เข้ามาบ่อยเหลือเกิน

หรือในช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้าของคนในชาติที่เรากำลังร่วมเดินหน้ากันต่อ ก็ยังมีธุรกิจโรงแรมที่พักที่ยังมุ่งแต่จะขายห้องพักในช่วงเวลาดังกล่าวโดยไม่รู้สึกว่าการกระทำของตนเองมีความไม่เหมาะสมอย่างไร ซึ่งนับเป็นเรื่องน่าละอายเป็นอย่างมาก


ถ้าคุณบริหารและทำการตลาดมาเป็นอย่างดี รู้จักลูกค้าคุณเป็นอย่างดี มีการนำสถิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับโลกโซเชียลมานั่งคิด วิเคราะห์ แยกแยะอย่างเป็นระบบ มีการทำตารางปฎิทินการโพสข้อความแบบที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในแต่ละเดือน ประเด็นที่คุณจะขึ้นข้อความขายสินค้าและเชิญชวนให้มาใช้บริการ จะมีจังหวะจะโคนที่เหมาะสม ไม่ใช่อึกอักก็ขึ้นแต่โปรโมชั่น โปรโมชั่น แพ็คเกจนั้น แพ็คเกจนี้กันอยู่เกือบทุกวันด้วยข้อความเดิมๆ เช่น มาพักกับเราสิคะ  มาสัมผัสบรรยากาศกับเราสิครับ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ในประเด็นเรื่อง อย่ามุ่งแต่จะขายนั้น ในอีกด้านหนึ่ง ทำให้ย้อนกลับไปนึกถึงเจ้าของโครงการประเภทที่ชอบพูดว่า "ชั้นไม่สนใจอะไร ชั้นสนใจแต่บรรทัดสุดท้ายของบัญชีรายรับรายจ่าย" อันนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน และไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมดีเอ็นเอของทีมงานจึงเป็นเช่นนี้ คือมุ่งแต่จะขายของโดยไม่รู้จักกาละเทศะ เพราะเจ้าของโครงการกดดันด้วยคำพูดนี้ตลอดเวลาที่มาเยี่ยมชมกิจการ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดี พฤติกรรมนี้จะถูกสืบทอดมาเป็นระลอกตั้งแต่ผู้บริหารที่รับคำสั่งโดยตรงจากเจ้าของกิจการ ถ่ายทอดมายังระดับหัวหน้า และส่งต่อมายังระดับปฎิบัติการ และในที่สุดสิ่งเหล่านี้ก็สะท้อนออกมาสู่วิธีการให้บริการของคุณนั่นเอง

สุดท้ายนี้ ฝาก 3 ข้อสั้นๆ เป็นแนวทางให้ทุกคนนำไปร่างมาตรฐานในการทำงานของโรงแรมคุณให้ชัดเจน เพื่อที่จะสร้างพฤติกรรมและการแสดงออกของแบรนด์คุณให้ประทับใจลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบรนด์กับการแสดงออก

แบรนด์สินค้าและบริการ ไม่ต่างอะไรจาก คนหนึ่งคน ถ้าแบรนด์ของสินค้าและบริการนั้นๆสามารถทำให้เรารู้สึกและรับรู้กับตัวสินค้าและบริการนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกภูมิใจที่ได้ใส่เสื้อผ้ายี่ห้อนี้  ความรู้สึกเท่เมื่อใส่นาฬิกายี่ห้อนี้  หรือความรู้สึกอิ่มเอมใจเมื่อเห็นสินค้าที่เราใช้ทำกิจกรรมจิตอาสาส่งต่อความดีต่างๆ แล้วสินค้าและบริการจะแสดงออกอย่างไร ? คงต้องกลับมาตั้งต้นไปตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือการก่อตั้งสร้างแบรนด์ ว่าเรามีวัตถุประสงค์อย่างไร กำหนดรูปแบบหน้าตา และองค์ประกอบต่างๆในความเป็นแบรนด์นั้นอย่างไร ไม่ใช่แต่เฉพาะในส่วนของตราสัญญลักษณ์หรือโลโก้ และสีสันของตัวอักษรที่ใช้แต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่เราวางลักษณะหรือบุคคลิกลักษณะ (Personality / Character) ของแบรนด์เป็นอย่างไร ซึ่งก็หมายรวมไปถึงว่า เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไรต่อภาพลักษณ์ของเรา หรือเมื่อลูกค้าใช้สินค้าและบริการของเรา เช่น อยากให้รู้สึกดี รู้สึกสบาย รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกภูมิใจ เป็นต้น การที่เราจะให้ลูกค้ามีความรู้สึกต่างๆที่เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกนั้น เราก็ต้องกลับมาที่ตัวสินค้าและบริการของเราว่าควรจะมีคุณลักษณะอย่า

BR2-01 : โรงแรมเปลี่ยนแบรนด์บ่อย ๆ จะดีเหรอ

เวลาเราเห็นโรงแรมที่พักตามสถานที่ต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแบรนด์ กันบ่อย ๆ เราก็มักจะสงสัยว่า ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ครั้งที่แล้วเรามาพักยังชื่อโรงแรมนี้อยู่เลย ทำไมมาคราวนี้เปลี่ยนไปอีกแล้ว หรืออีก  2  ปีถัดไปกลายเป็นอีกชื่อไปแล้ว เรามาดูกันว่าเรื่องนี้มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโรงแรม นั้นมีได้หลากหลายแบบในด้านธุรกิจ ได้แก่ 1. การทำสัญญาว่าจ้างบริหารงานแบบเต็มรูปแบบภายใต้เชน หรือที่เราเห็นตามจังหวัดต่างๆที่มีชื่อโรงแรมตั้งต้นด้วยชื่อเชน หรือชื่อแบรนด์โรงแรมในกลุ่มเชนนั้น ๆ และตามด้วยชื่อโรงแรมเดิม หรือสถานที่ตั้ง หากกลุ่มโรงแรมนั้นมีแบรนด์โรงแรมหลายแบรนด์ การพิจารณาเข้าร่วมบริหารจัดการก็จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของข้อกำหนดของแต่ละแบรนด์ว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติของโรงแรมที่จะอยู่ภายใต้แบรนด์นั้นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น จำนวนห้องพัก ขนาดห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เพื่อที่จะได้วางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับสภาพธุรกิจและแนวโน้มในการทำธุรกิจในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวม การทำสัญญากันในลักษณะนี้อาจเป็นการร่วมลงทุนร

BR3-01 : สร้างแบรนด์ โรงแรมเล็ก

#สร้างแบรนด์ให้โรงแรม ความจำเป็นและความสำคัญของก ารสร้างแบรนด์สำหรับโรงแรมนั้น  จริงๆอยู่ที่ความต้องการและ เป้าหมายทางธุรกิจที่เป็นโจ ทย์ตั้งต้นของเจ้าของโครงกา ร ขั้นตอนการทำงานของเราคือกา รพูดคุย สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด ็นต่างๆ กับเจ้าของโครงการเพื่อให้เ ข้าใจจุดประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน บางกรณีก็ได้ข้อสรุปว่าไม่ต้อ งทำ แค่สร้างและเปิดให้บริการให้ ได้ตามกำหนด บางกรณีต้องการปรับตำแหน่งท างการตลาด ขายในราคาที่ดีขึ้นเนื่องจา กต้นทุนสูงมาก กรณีนี้ก็ควรสร้างแบรนด์ หรือบางกรณีลูกค้าต้องการสร้า งธุรกิจโรงแรมเพื่อสร้างแ บรนด์เป็นของตนเอง ต้องการต่อยอดไปถึงการทำหลา ยโครงการ หลายแบรนด์เพื่อจับกลุ่มตลา ดที่ต่างกัน เพื่อปูทางไปในสายธุรกิจรับ บริหารจัดการโรงแรมในอนาคต กรณีนี้ต้องสร้างและออกแบบแ บรนด์ไปจนถึงบริหารแบรนด์อย่ างจริงจัง ซึ่งก็จะมีการเขียนคู่มือแล ะแนวทางในการปฏิบัติให้ ตั้งแต่ Brand Statement, Brand Promise, Brand Concept, Brand Management เป็นต้น เมื่อพัฒนาแบรนด์แล้วก็ควรทำ การตลาดเพื่อให้แบรนด์เป็น ที่รู้จักให้ตรงตามตลาดที่เ ป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางช่อ งทาง