ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บริการสร้างแบรนด์

เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้าไปทุกๆวินาที หลายๆแบรนด์ต่างแข่งขันโดยหยิบยกประเด็นเรื่องความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับสินค้าของตน บ้างก็นำเสนอการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  แม้กระทั่งผู้ค้ารายย่อยที่ขายสินค้าผ่านทางระบบออนไลน์ในปัจจุบันก็ยังแข่งขันกันในเรื่องการพัฒนาหรือเลือกรูปแบบการขายสินค้าที่ง่ายและรวดเร็ว สะดวกต่อลูกค้า จนไปถึงกระบวนการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับด้วยความรวดเร็ว  แต่ไม่ว่าเทคโนโลยีจะล้ำนำหน้าไปอย่างไร ลูกค้าในฐานะผู้ซื้อ ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการก็ยังต้องการการให้บริการที่ประทับใจ สุภาพ ให้ข้อมูลที่รู้จริง เพื่อให้การตัดสินใจซื้อเกิดขึ้นได้

หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ลองไปสำรวจการให้บริการตามโชว์รูมรถยนต์หลายๆยี่ห้อ ทั้งญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรถยนต์มาจากประเทศไหน ตัวแทนจำหน่ายในประเทศซึ่งก็คือทีมงานคนไทยนี่แหละเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่น และตัดสินใจซื้อ

โชว์รูมที่ 1 -  โชว์รูมโอ่อ่า สวยงาม สะอาดสะอ้าน แบ่งสัดส่วนการโชว์รถ ส่วนต้อนรับ ส่วนพักผ่อน ส่วนนั่งพูดคุยเป็นสัดส่วน พนักงานขายมีความกระตือรือร้นในการให้บริการ รู้จักใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่กับตัวคือโทรศัพท์มือถือในการนำเสนอสินค้า คำนวณโปรโมชั่นต่างๆด้วยความรวดเร็ว  และจะชักชวนให้ลูกค้าทดลองขับ เพื่อพิสูจน์สมรรถนะของรถ

โชว์รูมที่ 2 -  โชว์รูมโอ่อ่า สวยงาม สะอาดสะอ้าน แบ่งสัดส่วนการให้บริการที่ชัดเจนเช่นกัน แต่พนักงานขาดความพร้อมในการให้บริการ และไม่สามารถให้ข้อมูลหรือตอบข้อซักถามของลูกค้าได้ด้วยความมั่นใจในคำตอบของตัวเอง มุ่งเน้นแต่จะขอเบอร์โทร.ของลูกค้า  ไม่มีการชักชวนให้ลูกค้าทดลองขับแต่อย่างใด

โชว์รูมที่ 3 - โชว์รูมโอ่อ่า สวยงาม สะอาดสะอ้าน แบ่งสัดส่วนการให้บริการที่ชัดเจนเช่นกันตามมาตรฐานของแบรนด์นั้นๆ  แต่พนักงานเริ่มต้นทักทายลูกค้าที่เปิดประตูเข้าโชว์รูมมาด้วยคำว่า "พี่เข้ามาทางไหนอ่ะ"  จนลูกค้าเป็นงง และต้องสอบถามกลับไปว่า "แล้วทางโชว์รูมมีทางเข้าทางด้านอื่นอีกหรือคะ"



คำว่า "แบรนด์" คงไม่ใช่แค่ความสวยงามของโลโก้ หรือตราสัญญลักษณ์ ตัวหนังสือ โทนสีที่ใช้เท่านั้น แต่เครื่องมือที่จะสื่อสาร ส่งต่อหลักการและหัวใจที่เป็นแกนกลางสำคัญของความเป็นแบรนด์ที่แตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันในตลาดต่างหากที่จะทำให้ลูกค้ามีความเข้าใจ ชื่นชอบ ประทับใจในสินค้าของคุณ

ความรู้สึกของลูกค้าที่ได้รับการให้บริการของคุณ เป็นสิ่งสำคัญ

จากตัวอย่างข้างต้น โชว์รูมทุกแบรนด์ล้วนมีความโอ่อ่า สวยงามตามมาตรฐานของแบรนด์นั้นๆ เพราะเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการวางมาตรฐานเบื้องต้นในส่วนของภาพลักษณ์ให้ลูกค้าได้จดจำ  ส่วนการให้บริการภายในเป็นเรื่องที่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารโชว์รูมเหล่านั้นต้องมาทำความเข้าใจและตีโจทย์ให้ออกว่า สินค้าของคุณมีตำแหน่งทางการตลาดอยู่ตรงไหน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร และลูกค้าเหล่านั้นมีรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างไร ชอบและไม่ชอบอะไร ไปจนถึงความคาดหวังของลูกค้ามีอะไร

แต่ถ้าไม่สามารถตีโจทย์ตรงนี้ออก ขอให้เริ่มจาก "ความรู้ในสินค้าและบริการ" เป็นลำดับแรก  พนักงานทุกคนต้องมีความเข้าใจในสินค้าและบริการอย่างถ่องแท้ จุดเด่นของสินค้าคืออะไร แตกต่างจากรายอื่นอย่างไร  แล้วจึงตามมาด้วยทักษะการขาย การเจรจาต่อรอง และความรอบรู้ในเรื่องอื่นๆ

ถ้าคุณสามารถอบรมและพัฒนาบุคคลากรของคุณให้มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับตัวแบรนด์ การสื่อสาร การส่งต่อข้อมูลและการให้บริการระหว่างทีมงานและลูกค้าก็จะมีความราบรื่น และลูกค้าก็มั่นใจว่าสินค้านี้เป็นสินค้าที่ต้องการจริงๆ  แต่ถ้าทีมงานคุณมีพนักงานแบบโชว์รูมที่ 3 ทั้งๆที่ลูกค้ามีความชื่นชอบในแบรนด์คุณอยู่แล้ว การเปลี่ยนใจก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ความเป็นแบรนด์คงไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอก  แต่คือสิ่งที่ลูกค้าจะพูดถึงคุณต่อไปในอนาคต


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบรนด์กับการแสดงออก

แบรนด์สินค้าและบริการ ไม่ต่างอะไรจาก คนหนึ่งคน ถ้าแบรนด์ของสินค้าและบริการนั้นๆสามารถทำให้เรารู้สึกและรับรู้กับตัวสินค้าและบริการนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกภูมิใจที่ได้ใส่เสื้อผ้ายี่ห้อนี้  ความรู้สึกเท่เมื่อใส่นาฬิกายี่ห้อนี้  หรือความรู้สึกอิ่มเอมใจเมื่อเห็นสินค้าที่เราใช้ทำกิจกรรมจิตอาสาส่งต่อความดีต่างๆ แล้วสินค้าและบริการจะแสดงออกอย่างไร ? คงต้องกลับมาตั้งต้นไปตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือการก่อตั้งสร้างแบรนด์ ว่าเรามีวัตถุประสงค์อย่างไร กำหนดรูปแบบหน้าตา และองค์ประกอบต่างๆในความเป็นแบรนด์นั้นอย่างไร ไม่ใช่แต่เฉพาะในส่วนของตราสัญญลักษณ์หรือโลโก้ และสีสันของตัวอักษรที่ใช้แต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่เราวางลักษณะหรือบุคคลิกลักษณะ (Personality / Character) ของแบรนด์เป็นอย่างไร ซึ่งก็หมายรวมไปถึงว่า เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไรต่อภาพลักษณ์ของเรา หรือเมื่อลูกค้าใช้สินค้าและบริการของเรา เช่น อยากให้รู้สึกดี รู้สึกสบาย รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกภูมิใจ เป็นต้น การที่เราจะให้ลูกค้ามีความรู้สึกต่างๆที่เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกนั้น เราก็ต้องกลับมาที่ตัวสินค้าและบริการของเราว่าควรจะมีคุณลักษณะอย่า

BR2-01 : โรงแรมเปลี่ยนแบรนด์บ่อย ๆ จะดีเหรอ

เวลาเราเห็นโรงแรมที่พักตามสถานที่ต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแบรนด์ กันบ่อย ๆ เราก็มักจะสงสัยว่า ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ครั้งที่แล้วเรามาพักยังชื่อโรงแรมนี้อยู่เลย ทำไมมาคราวนี้เปลี่ยนไปอีกแล้ว หรืออีก  2  ปีถัดไปกลายเป็นอีกชื่อไปแล้ว เรามาดูกันว่าเรื่องนี้มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโรงแรม นั้นมีได้หลากหลายแบบในด้านธุรกิจ ได้แก่ 1. การทำสัญญาว่าจ้างบริหารงานแบบเต็มรูปแบบภายใต้เชน หรือที่เราเห็นตามจังหวัดต่างๆที่มีชื่อโรงแรมตั้งต้นด้วยชื่อเชน หรือชื่อแบรนด์โรงแรมในกลุ่มเชนนั้น ๆ และตามด้วยชื่อโรงแรมเดิม หรือสถานที่ตั้ง หากกลุ่มโรงแรมนั้นมีแบรนด์โรงแรมหลายแบรนด์ การพิจารณาเข้าร่วมบริหารจัดการก็จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของข้อกำหนดของแต่ละแบรนด์ว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติของโรงแรมที่จะอยู่ภายใต้แบรนด์นั้นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น จำนวนห้องพัก ขนาดห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เพื่อที่จะได้วางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับสภาพธุรกิจและแนวโน้มในการทำธุรกิจในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวม การทำสัญญากันในลักษณะนี้อาจเป็นการร่วมลงทุนร

BR3-01 : สร้างแบรนด์ โรงแรมเล็ก

#สร้างแบรนด์ให้โรงแรม ความจำเป็นและความสำคัญของก ารสร้างแบรนด์สำหรับโรงแรมนั้น  จริงๆอยู่ที่ความต้องการและ เป้าหมายทางธุรกิจที่เป็นโจ ทย์ตั้งต้นของเจ้าของโครงกา ร ขั้นตอนการทำงานของเราคือกา รพูดคุย สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด ็นต่างๆ กับเจ้าของโครงการเพื่อให้เ ข้าใจจุดประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน บางกรณีก็ได้ข้อสรุปว่าไม่ต้อ งทำ แค่สร้างและเปิดให้บริการให้ ได้ตามกำหนด บางกรณีต้องการปรับตำแหน่งท างการตลาด ขายในราคาที่ดีขึ้นเนื่องจา กต้นทุนสูงมาก กรณีนี้ก็ควรสร้างแบรนด์ หรือบางกรณีลูกค้าต้องการสร้า งธุรกิจโรงแรมเพื่อสร้างแ บรนด์เป็นของตนเอง ต้องการต่อยอดไปถึงการทำหลา ยโครงการ หลายแบรนด์เพื่อจับกลุ่มตลา ดที่ต่างกัน เพื่อปูทางไปในสายธุรกิจรับ บริหารจัดการโรงแรมในอนาคต กรณีนี้ต้องสร้างและออกแบบแ บรนด์ไปจนถึงบริหารแบรนด์อย่ างจริงจัง ซึ่งก็จะมีการเขียนคู่มือแล ะแนวทางในการปฏิบัติให้ ตั้งแต่ Brand Statement, Brand Promise, Brand Concept, Brand Management เป็นต้น เมื่อพัฒนาแบรนด์แล้วก็ควรทำ การตลาดเพื่อให้แบรนด์เป็น ที่รู้จักให้ตรงตามตลาดที่เ ป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางช่อ งทาง