ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สร้างการรับรู้กับแบรนด์โรงแรมเล็ก

ต่อเนื่องจากครั้งที่ผ่านมาว่า เราเลือกได้ว่าจะให้ลูกค้ารับรู้เราในแบบไหน อย่างไร ทุกอย่างอยู่ที่การแสดงออกของเราผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอกจากสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายใน ตราสัญญลักษณ์ การเลือกสี  การเลือกรูปแบบตัวหนังสือ  ไปจนถึงกลไกลที่สำคัญภายในคือทีมงานของเรา  ตั้งแต่การแต่งกาย บุคคลิกภาพ การพูดจา มายาทต่างๆ

สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยในการกำหนดทิศทางของการสร้างการรับรู้

คำถามที่พบบ่อย คือ แล้วโรงแรมขนาดเล็กจะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้จักเราในแบบที่เราต้องการ ?

เรื่องนี้อยากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้ฟังในแบบที่อยากลองให้คิดตามไปทีละขั้นทีละตอน

ถ้าเรานึกย้อนไปถึงสมัยที่เราไปเข้าโรงเรียนใหม่ ย้ายโรงเรียน เข้าเรียนมหาวิทยาลัย จนกระทั่งทำงานในที่ทำงานต่างๆ  เราก็มีเพื่อนหลากหลายในแต่ละที่ เพื่อนสมัยนักเรียน เนื่องจากใช้เวลาร่วมกันทั้งเรียนทั้งเล่น การทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนจึงไม่ยากเย็น เราก็จะรู้ว่า เพื่อนคนนี้เวลาทำข้อสอบ จะชอบบอกว่า ทำไม่ได้ แต่คะแนนออกมาได้เกรดดีๆทุกที  เพื่อนคนนั้นเวลาทำงานกลุ่ม ไม่ค่อยช่วยเหลือ ชอบอ้างว่าต้องรีบกลับบ้าน ไม่ยอมอยู่เย็นช่วยทำงานกลุ่ม  เพื่อนคนนู้น รับประทานอาหารกลางวันมูมมามมาก เคี้ยวข้าวเสียงดังแจ็บๆ น่ารังเกียจมาก   ความแตกต่างของลักษณะนิสัยแต่ละคนที่เราสังเกตเห็นได้จากพฤติกรรมของเขา ทำให้เรามักจะตั้งฉายาให้เพื่อนแต่ละคนแตกต่างกันไป  แต่ถ้าเมื่อไหร่ใช้ฉายาเรียกเพื่อนคนหนึ่ง ทุกคนก็จะเข้าใจได้ว่าหมายถึงใครในห้อง  เช่น ไอ้แก่  ทุกคนรู้ว่าหมายถึงเพื่อนที่มีหน้าแก่ เมื่อเทียบกับเพื่อนๆในรุ่นราวคราวเดียวกัน  เป็นต้น

พอถึงวัยทำงาน เพื่อนที่ทำงานก็แตกต่างจากเพื่อนสมัยนักเรียน อาจต้องใช้เวลาในการทำความรู้จักกันมากขึ้น เพราะเวลาส่วนใหญ่ที่ใช้ร่วมกันอาจจะเป็นแค่การร่วมรับประทานอาหารกลางวัน หรือมื้อเย็นบ้างตามโอกาสต่างๆ  ส่วนที่เหลือในเวลาทำงาน บุคคลิกของแต่ละคนอาจแตกต่าง ระหว่างเวลาทำงานกับเวลาหลังเลิกงานเพื่อสังสรรค์   ดังนั้นกว่าจะเข้าใจ เรียนรู้ว่าจริงๆแล้วเพื่อนที่ทำงานคนนี้ที่แท้จริงแล้วมีนิสัยอย่างไร  หรือบางคนเราอาจจะดูไม่ออกเลยก็ได้ว่าเขาเป็นคนอย่างไร เพราะเขาแยกบทบาทของตัวเองอย่างชัดเจนระหว่างเวลาทำงานกับเวลาส่วนตัว   ในขณะเดียวกัน การตั้งฉายาให้กับเพื่อนร่วมงานก็ยังคงมีคล้ายๆกับสมัยเรียน แต่อาจรุนแรงกว่าในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกันในที่ทำงาน  บางครั้งกว่าเราจะรู้ว่าที่แท้เขาเป็นคนแบบนี้ อาจต้องใช้เวลานานหลายปี

การสร้างการรับรู้สำหรับโรงแรมขนาดเล็ก จริงๆแล้วก็ไม่แตกต่างกับการเรียนรู้ทำความรู้จักกับเพื่อนในช่วงวัยต่างๆ  เพราะการที่เราจะรับรู้ว่าใครเป็นอย่างไร  มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ
1) การแสดงออก หรือพฤติกรรม
2) ระยะเวลา


เพราะเพื่อนเราแสดงออกหรือมีพฤติกรรมแบบนั้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน จนเรารับรู้ว่าเพื่อนคนนี้มีนิสัยอย่างไร และเราควรจะวางตัวกับเพื่อนคนนี้อย่างไร

เช่นเดียวกันกับโรงแรมขนาดเล็ก  คุณสร้างกิจการที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายในที่โดดเด่นดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้อยากเข้ามาสัมผัส  แต่เมื่อลูกค้าเข้ามาสัมผัสแล้วอาจจะชอบหรือไม่ชอบในบริการที่คุณจัดให้ การรับรู้ที่เกิดขึ้นก็ชัดเจนว่าจะประทับใจหรือไม่ประทับใจ  และเมื่อมีการตอกย้ำบ่อยครั้งจากกลุ่มเพื่อน หรือคนรู้จัก รวมไปถึงรีวิวต่างๆที่ออกมาต่อเนื่อง ย้ำซ้ำๆในจุดเดิมไม่ว่าจะด้านดีหรือไม่ดี  การตอกย้ำในการรับรู้ของลูกค้าก็จะจดจำในทิศทางนั้นๆ ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการครั้งต่อไป

เพราะฉนั้น คุณเลือกได้อีกเช่นกันว่า การแสดงออกของทีมงาน ผ่านขั้นตอนในการให้บริการในส่วนต่างๆนั้น ไม่ใช่เพียงแต่มีระเบียบวิธีปฏิบัติภายในโรงแรมเท่านั้น แต่การทำความเข้าใจกับทีมงานให้เห็นความสำคัญในการสร้างจิตสำนักของการให้บริการที่ดี สม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับโรงแรม และสร้างการรับรู้ที่ดีให้กับโรงแรม

สิ่งปลูกสร้างภายนอกเป็นสิ่งจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ แต่การบริการข้างในจะเป็นตัวตอกย้ำ และการสร้างการรับรู้

ทุกอย่างต้องใช้เวลา  แต่เราสร้างได้ด้วยการมีวินัยของทีมงาน และความเข้าใจของทีมงานถึงความสำคัญในการให้บริการที่ดี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบรนด์กับการแสดงออก

แบรนด์สินค้าและบริการ ไม่ต่างอะไรจาก คนหนึ่งคน ถ้าแบรนด์ของสินค้าและบริการนั้นๆสามารถทำให้เรารู้สึกและรับรู้กับตัวสินค้าและบริการนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกภูมิใจที่ได้ใส่เสื้อผ้ายี่ห้อนี้  ความรู้สึกเท่เมื่อใส่นาฬิกายี่ห้อนี้  หรือความรู้สึกอิ่มเอมใจเมื่อเห็นสินค้าที่เราใช้ทำกิจกรรมจิตอาสาส่งต่อความดีต่างๆ แล้วสินค้าและบริการจะแสดงออกอย่างไร ? คงต้องกลับมาตั้งต้นไปตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือการก่อตั้งสร้างแบรนด์ ว่าเรามีวัตถุประสงค์อย่างไร กำหนดรูปแบบหน้าตา และองค์ประกอบต่างๆในความเป็นแบรนด์นั้นอย่างไร ไม่ใช่แต่เฉพาะในส่วนของตราสัญญลักษณ์หรือโลโก้ และสีสันของตัวอักษรที่ใช้แต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่เราวางลักษณะหรือบุคคลิกลักษณะ (Personality / Character) ของแบรนด์เป็นอย่างไร ซึ่งก็หมายรวมไปถึงว่า เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไรต่อภาพลักษณ์ของเรา หรือเมื่อลูกค้าใช้สินค้าและบริการของเรา เช่น อยากให้รู้สึกดี รู้สึกสบาย รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกภูมิใจ เป็นต้น การที่เราจะให้ลูกค้ามีความรู้สึกต่างๆที่เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกนั้น เราก็ต้องกลับมาที่ตัวสินค้าและบริการของเราว่าควรจะมีคุณลักษณะอย่า

BR2-01 : โรงแรมเปลี่ยนแบรนด์บ่อย ๆ จะดีเหรอ

เวลาเราเห็นโรงแรมที่พักตามสถานที่ต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแบรนด์ กันบ่อย ๆ เราก็มักจะสงสัยว่า ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ครั้งที่แล้วเรามาพักยังชื่อโรงแรมนี้อยู่เลย ทำไมมาคราวนี้เปลี่ยนไปอีกแล้ว หรืออีก  2  ปีถัดไปกลายเป็นอีกชื่อไปแล้ว เรามาดูกันว่าเรื่องนี้มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโรงแรม นั้นมีได้หลากหลายแบบในด้านธุรกิจ ได้แก่ 1. การทำสัญญาว่าจ้างบริหารงานแบบเต็มรูปแบบภายใต้เชน หรือที่เราเห็นตามจังหวัดต่างๆที่มีชื่อโรงแรมตั้งต้นด้วยชื่อเชน หรือชื่อแบรนด์โรงแรมในกลุ่มเชนนั้น ๆ และตามด้วยชื่อโรงแรมเดิม หรือสถานที่ตั้ง หากกลุ่มโรงแรมนั้นมีแบรนด์โรงแรมหลายแบรนด์ การพิจารณาเข้าร่วมบริหารจัดการก็จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของข้อกำหนดของแต่ละแบรนด์ว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติของโรงแรมที่จะอยู่ภายใต้แบรนด์นั้นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น จำนวนห้องพัก ขนาดห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เพื่อที่จะได้วางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับสภาพธุรกิจและแนวโน้มในการทำธุรกิจในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวม การทำสัญญากันในลักษณะนี้อาจเป็นการร่วมลงทุนร

BR3-01 : สร้างแบรนด์ โรงแรมเล็ก

#สร้างแบรนด์ให้โรงแรม ความจำเป็นและความสำคัญของก ารสร้างแบรนด์สำหรับโรงแรมนั้น  จริงๆอยู่ที่ความต้องการและ เป้าหมายทางธุรกิจที่เป็นโจ ทย์ตั้งต้นของเจ้าของโครงกา ร ขั้นตอนการทำงานของเราคือกา รพูดคุย สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด ็นต่างๆ กับเจ้าของโครงการเพื่อให้เ ข้าใจจุดประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน บางกรณีก็ได้ข้อสรุปว่าไม่ต้อ งทำ แค่สร้างและเปิดให้บริการให้ ได้ตามกำหนด บางกรณีต้องการปรับตำแหน่งท างการตลาด ขายในราคาที่ดีขึ้นเนื่องจา กต้นทุนสูงมาก กรณีนี้ก็ควรสร้างแบรนด์ หรือบางกรณีลูกค้าต้องการสร้า งธุรกิจโรงแรมเพื่อสร้างแ บรนด์เป็นของตนเอง ต้องการต่อยอดไปถึงการทำหลา ยโครงการ หลายแบรนด์เพื่อจับกลุ่มตลา ดที่ต่างกัน เพื่อปูทางไปในสายธุรกิจรับ บริหารจัดการโรงแรมในอนาคต กรณีนี้ต้องสร้างและออกแบบแ บรนด์ไปจนถึงบริหารแบรนด์อย่ างจริงจัง ซึ่งก็จะมีการเขียนคู่มือแล ะแนวทางในการปฏิบัติให้ ตั้งแต่ Brand Statement, Brand Promise, Brand Concept, Brand Management เป็นต้น เมื่อพัฒนาแบรนด์แล้วก็ควรทำ การตลาดเพื่อให้แบรนด์เป็น ที่รู้จักให้ตรงตามตลาดที่เ ป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางช่อ งทาง