ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

BR3-02 : จะทำอย่างไรกับพวกบ้าถ่ายรูปแบบไม่เกรงใจดี

มีคำถามเข้ามาแบบถี่ ๆ มากขึ้นว่า จะ ทำอย่างไรกับพฤติกรรมของลูกค้าที่คลั่งไคล้การถ่ายรูปดี   ? น่าแปลกใจพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ก็เห็นด้วยว่า บางครั้งพฤติกรรมของลูกค้าก็ก้าวข้ามความเหมาะสม รู้จัก “ควร” หรือ “ไม่ควร” ไปในหลาย ๆ กรณี เพียงเพราะคิดว่า “ฉันต้องการภาพไปโพสลงในโซเชี่ยลมีเดียของฉัน” ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทำเป็นวิดีโอภาพเคลื่อนไหวเผยแพร่ในช่องยูทูปของตนเอง หรืออยากนำไปลงตามกลุ่มต่างๆที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ เช่น ชมรมกล้องถ่ายภาพยี่ห้องต่างๆ หรือกลุ่มท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่ม ประสบการ์ณที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายรูปมีหลายแบบ หลายประเภท เช่น ถือกล้องเดินเข้ามาในร้าน และตะลุยยิงภาพถ่ายทุกมุม ทุกบริเวณ เดินทั่วทุกบริเวณไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำ และเดินกลับออกไปเฉย ๆ สถานที่ติดป้ายว่า “ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ใช้บริการร้านอาหารเท่านั้น” แต่ไม่สนใจกับป้าย และไม่สนใจคำพูดที่พนักงานชี้แจง เดินถ่ายรูปต่อไป และเดินออกไปเมื่อถ่ายรูปเสร็จ สถานที่ติดป้ายว่า “พื้นที่กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุง ห้ามเดินผ่าน อันตราย” ก็จะเดินเข้าไป มุดใต้เชือกที่ขึงกั้นทางเอาไว้ ขนอุปกรณ์
โพสต์ล่าสุด

BR3-01 : สร้างแบรนด์ โรงแรมเล็ก

#สร้างแบรนด์ให้โรงแรม ความจำเป็นและความสำคัญของก ารสร้างแบรนด์สำหรับโรงแรมนั้น  จริงๆอยู่ที่ความต้องการและ เป้าหมายทางธุรกิจที่เป็นโจ ทย์ตั้งต้นของเจ้าของโครงกา ร ขั้นตอนการทำงานของเราคือกา รพูดคุย สอบถาม ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด ็นต่างๆ กับเจ้าของโครงการเพื่อให้เ ข้าใจจุดประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน บางกรณีก็ได้ข้อสรุปว่าไม่ต้อ งทำ แค่สร้างและเปิดให้บริการให้ ได้ตามกำหนด บางกรณีต้องการปรับตำแหน่งท างการตลาด ขายในราคาที่ดีขึ้นเนื่องจา กต้นทุนสูงมาก กรณีนี้ก็ควรสร้างแบรนด์ หรือบางกรณีลูกค้าต้องการสร้า งธุรกิจโรงแรมเพื่อสร้างแ บรนด์เป็นของตนเอง ต้องการต่อยอดไปถึงการทำหลา ยโครงการ หลายแบรนด์เพื่อจับกลุ่มตลา ดที่ต่างกัน เพื่อปูทางไปในสายธุรกิจรับ บริหารจัดการโรงแรมในอนาคต กรณีนี้ต้องสร้างและออกแบบแ บรนด์ไปจนถึงบริหารแบรนด์อย่ างจริงจัง ซึ่งก็จะมีการเขียนคู่มือแล ะแนวทางในการปฏิบัติให้ ตั้งแต่ Brand Statement, Brand Promise, Brand Concept, Brand Management เป็นต้น เมื่อพัฒนาแบรนด์แล้วก็ควรทำ การตลาดเพื่อให้แบรนด์เป็น ที่รู้จักให้ตรงตามตลาดที่เ ป็นกลุ่มเป้าหมายผ่านทางช่อ งทาง

BR2-01 : โรงแรมเปลี่ยนแบรนด์บ่อย ๆ จะดีเหรอ

เวลาเราเห็นโรงแรมที่พักตามสถานที่ต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแบรนด์ กันบ่อย ๆ เราก็มักจะสงสัยว่า ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ครั้งที่แล้วเรามาพักยังชื่อโรงแรมนี้อยู่เลย ทำไมมาคราวนี้เปลี่ยนไปอีกแล้ว หรืออีก  2  ปีถัดไปกลายเป็นอีกชื่อไปแล้ว เรามาดูกันว่าเรื่องนี้มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโรงแรม นั้นมีได้หลากหลายแบบในด้านธุรกิจ ได้แก่ 1. การทำสัญญาว่าจ้างบริหารงานแบบเต็มรูปแบบภายใต้เชน หรือที่เราเห็นตามจังหวัดต่างๆที่มีชื่อโรงแรมตั้งต้นด้วยชื่อเชน หรือชื่อแบรนด์โรงแรมในกลุ่มเชนนั้น ๆ และตามด้วยชื่อโรงแรมเดิม หรือสถานที่ตั้ง หากกลุ่มโรงแรมนั้นมีแบรนด์โรงแรมหลายแบรนด์ การพิจารณาเข้าร่วมบริหารจัดการก็จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของข้อกำหนดของแต่ละแบรนด์ว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติของโรงแรมที่จะอยู่ภายใต้แบรนด์นั้นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น จำนวนห้องพัก ขนาดห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เพื่อที่จะได้วางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับสภาพธุรกิจและแนวโน้มในการทำธุรกิจในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวม การทำสัญญากันในลักษณะนี้อาจเป็นการร่วมลงทุนร

BR1-03 : ข้อควรระวังในการโพสข้อความ

ถ้าการสร้าง "แบรนด์" คือการทำให้ลูกค้าชอบเรา การกระทำต่างๆของเราไม่ว่าจะเป็นช่องทางการสื่อสารทางช่องทางใด ก็ควรเพิ่มความระมัดระวังให้มาก ๆ ซึ่งในบางประเด็นก็เป็นการอธิบายให้เข้าใจได้ยากเพราะเป็นเรื่องที่ว่าด้วยคำว่า "ควร" และ "ไม่ควร" เหมือนกับหลายๆครั้งที่เขียนบทความและพยายามเน้นในเรื่อง "มารยาท" ในเรื่องต่าง ๆ ก็เพื่อให้ทุกท่านระมัดระวังในการกระทำ การคิดให้รอบคอบก่อนลงมือทำ เพราะไม่ใช่การกระทำในฐานส่วนบุคคล แต่คุณกำลังทำหน้าที่ทีมงานคนหนึ่งของธุรกิจ ซึ่งก็เปรียบเสมือนคุณเป็นตัวแทนของแบรนด์สินค้า หรือ แบรนด์บริการของคุณนั่นเอง มี 3 ข้อสั้นๆ ที่อยากนำมาย้ำเตือนกันอีกครั้งว่า ธุรกิจโรงแรมที่พัก เป็นธุรกิจการให้บริการ ซึ่งว่าด้วยคน 100% ไม่ว่าจะในด้านใดๆ ล้วนต้องใช้คนทำหน้าที่สื่อสาร มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าทั้งสิ้น ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากมาย แต่ท้ายที่สุดความประทับที่จะเกิดขึ้นจากการใช้บริการจะกลับมาที่ตัวพนักงาน หรือทีมงานทั้งหมด ข้อที่ 1 - กาลเทศะ  การที่เราจะรู้ว่า "ควร" หรือ "ไม่ควร" หรือ "เหมาะสม&

BR1-02 : ตอบรีวิว อย่าให้เสียแบรนด์

รีวิวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร สายการบิน ยิ่งรีวิวที่มีอิทธิพลมาก มีเครือข่ายที่แข็งแกร่งอย่าง TripAdvisor โรงแรมที่พัก และสถานประกอบธุรกิจต่างๆก็ควรเพิ่มความระมัดระวังในการตอบข้อซักถามหรือการตอบรีวิว ความจริง หากป้องกันได้ตั้งแต่ต้น ก็คือการเตรียมการให้บริการ และการให้บริการที่ดี เพื่อลดปัญหาให้ได้มากที่สุดจะเป็นการดีที่สุด แต่หากไม่สามารถป้องกันปัญหาได้จริงๆ ก็ควรจะแก้ไขปัญหาที่หน้างานให้จบอย่างรวดเร็วให้ได้ พบปะ พูดคุย สอบถามลูกค้าถึงความไม่พอใจ หรือข้อขัดข้องที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่พอใจ และหาทางแก้ไขให้ตรงประเด็น เวลาลูกค้ามีปัญหาไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม ประเด็นแรกคือ "การเป็นผู้ฟังที่ดี" คือรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่แสดงออกทางสีหน้า หรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมตั้งแต่ลูกค้าเริ่มจะบอกเล่าความไม่พอใจ  เท่านี้ก็เป็นการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว  ผู้บริหารโรงแรมควรฝึกทีมงานให้มีความอดทน อดกลั้น และรู้จักเป็นผู้ฟังที่ดี และอย่าลืมฝึกตัวเองด้วยเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทีมงาน เมื่อรับฟังแล้ว เบื้องต้นไม่

#BR1-01 : สร้างแบรนด์โรงแรมให้ชัดเจน

หลายปีที่ผ่านมามีแต่การยุยงให้คนนำที่ดินว่างเปล่า หรือบ้านเก่าที่มีอยู่มาทำเป็นที่พัก โรงแรมขนาดเล็ก โฮมสเตย์ และอื่นๆอีกมากมาย และมักจะเป็นมุมมองเพียงด้านใดด้านหนึ่ง  และอาศัยตัวอย่างจากความสำเร็จจากโครงการอื่นๆมาเป็นตัวกระตุ้น โดยมักจะขาดประเด็นเรื่อง " ความอยู่รอดของธุรกิจ " แต่จะเน้นเพียง "การสร้างให้แล้วเสร็จ" เพราะเป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ มองเห็นจากภายนอกได้ชัดเจน และนำสิ่งก่อสร้างที่แล้วเสร็จมานั่งเชยชม แล้วค่อยคิดอ่านกันแบบระยะยาวต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด การสร้างตัวตนหรืออัตลักษณ์ ซึ่งหมายถึงลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เป็นปัจจัยที่อยากชวนให้มานั่ง ขบคิดกันให้ตกผลึก เพื่อทำให้การสร้างตัวตนของสินค้าและบริการของคุณในธุรกิจสามารถเป็นที่จดจำและเป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจโรงแรมที่พัก ซึ่งเกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด ถ้าขาดเอกลักษณ์ในความเป็นตัวตนที่ชัดเจน ก็ยากที่จะอยู่รอดปลอดภัยในระยะยาว ลองกลับมานั่งเปรียบเทียบดูว่า เวลาเราคบเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน หรือสมาคมต่างๆ

แบรนด์กับการแสดงออก

แบรนด์สินค้าและบริการ ไม่ต่างอะไรจาก คนหนึ่งคน ถ้าแบรนด์ของสินค้าและบริการนั้นๆสามารถทำให้เรารู้สึกและรับรู้กับตัวสินค้าและบริการนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกภูมิใจที่ได้ใส่เสื้อผ้ายี่ห้อนี้  ความรู้สึกเท่เมื่อใส่นาฬิกายี่ห้อนี้  หรือความรู้สึกอิ่มเอมใจเมื่อเห็นสินค้าที่เราใช้ทำกิจกรรมจิตอาสาส่งต่อความดีต่างๆ แล้วสินค้าและบริการจะแสดงออกอย่างไร ? คงต้องกลับมาตั้งต้นไปตั้งแต่จุดเริ่มต้น คือการก่อตั้งสร้างแบรนด์ ว่าเรามีวัตถุประสงค์อย่างไร กำหนดรูปแบบหน้าตา และองค์ประกอบต่างๆในความเป็นแบรนด์นั้นอย่างไร ไม่ใช่แต่เฉพาะในส่วนของตราสัญญลักษณ์หรือโลโก้ และสีสันของตัวอักษรที่ใช้แต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่เราวางลักษณะหรือบุคคลิกลักษณะ (Personality / Character) ของแบรนด์เป็นอย่างไร ซึ่งก็หมายรวมไปถึงว่า เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไรต่อภาพลักษณ์ของเรา หรือเมื่อลูกค้าใช้สินค้าและบริการของเรา เช่น อยากให้รู้สึกดี รู้สึกสบาย รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกภูมิใจ เป็นต้น การที่เราจะให้ลูกค้ามีความรู้สึกต่างๆที่เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกนั้น เราก็ต้องกลับมาที่ตัวสินค้าและบริการของเราว่าควรจะมีคุณลักษณะอย่า